วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางศาสนา

วันมาฆบูชา : โ อ ว า ท ป า ฏิ โ ม ก ข์ 

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส 

   เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
วันวิสาขบูชา : ประสูติ - ตรัสรู้ - ปรินิพพาน

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗วันอัฏฐมีบูชา : วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) 

ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา"


วันอาสาฬหบูชา : พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘



   วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะเป็นครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร" ซึ่งได้แก่อริยสัจ 4 ซึ่งหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โกญฑัญญะ ก็สำเร็จพระโสดา รู้ตามกระแสพระธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่า วันนี้ เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบเป็นองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นับเป็นวันแรกที่ พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา


 วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

   ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 เดือน ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย

วันออกพรรษา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

การละเล่นของไทย



กระต่ายขาเดียว


จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น 
      ขีดเส้นแบ่งเขตบนพื้น และมีเขตจำกัดเส้นออกไว้ด้วย แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆ กั
 ตกลงกันว่าใครจะเป็นกระต่ายก่อน กลุ่มที่เป็นกระต่ายจะคิดคำขึ้นหนึ่งคำ ให้มีพยางค์
เท่ากับจำนวนคนในหมู่และจำต้องกำหนดพยางค์ให้แต่ละคนด้วย เมื่อคิดคำได้แล้วหมู่
ที่เป็นฝ่ายเล่นทั้งหมดก็จะเป็นผู้เลือกว่า จะเอาพยางค์ใด ฝ่ายกระต่ายคนที่มีพยางค์ตรง
กับที่โดนเลือกก็จะวิ่งกระโดดขาเดียวให้เร็วที่สุด และไล่จับแตะคนในฝ่ายเล่น ถ้าคนใด
โดนจับหรือถูกตัวกระต่ายก็ต้องออกจากการเล่น แต่ถ้ากระต่ายเปลี่ยนขาหรือขาแตะพื้น
จะต้องเปลี่ยนเป็นกระต่ายตัวใหม่ที่ฝ่ายเล่นจะเลือก เมื่อฝ่ายเล่นถูกไล่ตีจนหมดแล้วก็ถือ
ว่าแพ้
 ต้องมาเป็นฝ่ายกระต่ายบ้าง
ตัวอย่างการเล่น


       ฝ่ายกระต่ายมีสมาชิก 4 คน ก็คิดคำ 4 พยางค์ เช่น ทุเรียนหมอนทอง
 คนแรกเป็ ทุคนที่2 เป็นเรียน คนที่3 เป็นหมอน คนที่4 เป็นทอง
 เมื่อฝ่ายเล่นเรียกทอง คนที่เป็นทองต้องกระโดดขาเดียวไล่จับคนฝ่ายเล่น
 ถ้าเท้าตกถึงพื้นฝ่ายเล่นจะเลือกคนใหม่อีก จนกว่าจะหมด ถ้าฝ่ายกระต่ายแตะ
ได้ก่อน หรือฝ่ายเล่นวิ่งออกนอกเส้นแบ่งเขต จะหมดสิทธิ์เป็นฝ่ายเล่นต้องมาเป็
นฝ่ายกระต่ายแทน

จำนวนผู้เล่น

ผู้เล่นมีจำนวน 8-10 คน

วิธีเล่น

    แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่ 1 จะต้องเป็น พ่องู” 1 คน ฝ่ายที่ 2 มี แม่งู” 1 คน ที่เหลือเป็น
 ลูกงู ซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า แม่งูเอ๋ย
 แม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า เอ๋ย พอช่วงท้ายพ่องูถามว่า กินหัว กินหาง แม่งูตอบว่า
กินกลางตลอดตัว ผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อ
ป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น 
 ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด

อุปกรณ์

ไม่มี

ประเพณีไทย


วันสงกรานต์ ประเพณีไทย

สงกรานต์ซึ่ง เป็นประเพณีของประเทศไทย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การผ่าน หรือ การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี
ประเพณีสงกรานต์ ของไทยที่สืบกันมาอย่างช้านาน
โดยการนับ ระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกร กุมภ์ และ มีน การโคจร ผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาว เหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก อินเดียเช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น

ประเพณีไทย


วันลอยกระทง 

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
              ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู


  คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู

  ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว  ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย  ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งการสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้
     
           ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก
          อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า "ความหมายของครูตามรูปแบบ"
          ที่ ผู้เขียนใช้ข้อความนี้ เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ
          ตัวอย่าง ความหมายของครูตามรูปแบบ จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า "ข้าราชการครู" ซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓) กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ